ตูน บอดี้สแลม

นี่หรือเปล่า?ไอดอลพี่ ตูน บอดี้สแลม มาราธอนแมน วิ่งระดมทุนรอบเกาะอังกฤษ 401 วัน !

Alternative Textaccount_circle
event
ตูน บอดี้สแลม
ตูน บอดี้สแลม

ใครบางคนบอกเขาคือร็อคสตาร์ คือนักมาราธอน คือฮีโร่ แต่ไม่ว่าจะถูกนิยามในแบบไหน ตูน บอดี้สแลม คือผู้จุดประกายให้เกิดปรากฏการณ์ดีๆ ขึ้นกับสังคมจนกลายเป็นอีเว้นท์วิ่งแห่งชาติไปแล้ว

กับโครงการ  “ก้าวคนละก้าว” ของ ตูน บอดี้สแลม และทีมงาน ที่ออกวิ่งด้วยเป้าหมาย 2,191 กิโลเมตร 700 ล้าน วันนี้สุดฯจะขอพาคุณผู้อ่านมาติดตามเรื่องราวของฮีโร่สายวิ่งอีกคน ที่เคยใช้การวิ่งเป็นเครื่องมือเพื่อรณรงค์สร้างความตื่นตัวให้กับสังคม และระดมเงินบริจาค เพื่อแก้ปัญหาแบบเดียวกันกับที่พี่ตูนทำเหมือนกันค่ะ ( แบบนี้เรียกว่า เพื่อนร่วมอุดมการณ์ น่าจะได้เนอะ )

ตูน บอดี้สแลม

 

ตูน บอดี้สแลม

ณ จุดนี้ เมื่อฝั่งไทยมีพี่ ตูน บอดี้สแลม เป็นฮีโร่ ฝั่งยุโรปเขาก็มีฮีโร่ ที่ชื่อว่า  เบน สมิธ เช่นกันค่ะ คุณเบน สมิธ เป็นนักวิ่งมาราธอนที่ออกมาประกาศเจตนารมณ์อย่างแน่วแน่ ว่าจะทำตามเป้าหมายคือ วิ่งมาราธอนทุกวัน เป็นจำนวน  401 วัน รอบเกาะอังกฤษ! โดยการวิ่งมาราธอนของคุณเบนนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อระดมทุนแก้ปัญหาเด็กถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียน

ทำไมต้องเป็นปัญหาเด็กถูกกลั่นแกล้ง คุณเบน ผ่านอะไร หรือมีแรงบันดาลใจอะไรมา เรื่องราวมันเป็นอย่างนี้ค่ะ…

ตูน บอดี้สแลม

ครอบครัวของ เบน สมิธ (Ben Smith) มีฐานะค่อนข้างยากจน ประกอบกับเบนเป็นเด็กตัวเล็ก ที่มีปัญหาสุขภาพ ไม่เพียงแต่ร่างกายที่ผอมบางเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงจิตใจด้วย เขาเป็นเด็กเก็บตัว ชอบอยู่คนเดียว จนทำให้พ่อแม่คิดว่าเขาเป็นเด็กมีปัญหา และตัดสินใจส่งเขาไปอยู่ในโรงเรียนประจำ แต่แทนที่เรื่องราวจะจบลงด้วยดี กลายเป็นว่าสังคมในโรงเรียนนั้นเองที่ทำร้ายชีวิตเขาอย่างมาก

ตูน บอดี้สแลม

ที่โรงเรียนประจำ เบนถูกกลั่นแกล้งจากเพื่อนๆ ส่วนหนึ่งก็ด้วยฐานะทางครอบครัวของเขา ที่ยากจนกว่าคนอื่น รวมถึงเสื้อผ้า และข้าวของเครื่องใช้ ที่ไม่ดีเท่าเพื่อนๆ ทำให้เขาถูกเพื่อนในชั้นเรียนพูดจาเยาะเย้ยถากถางตลอดเวลา การกลั่นแกล้งและคำสบประมาทเหล่านี้ ทำให้เขาเสียใจมาก และกลายเป็นโรคซึมเศร้า

สถานการณ์ดูจะยิ่งเลวร้ายลงไปอีก เมื่อเขาค้นพบว่าตัวเองเป็นเกย์ เมื่อตอนอายุ 12 ปี เรื่องนี้ยิ่งทำให้เบนรู้สึกสับสนมากยิ่งขึ้น เขาเริ่มแยกตัวออกจากสังคม และด้วยความว้าเหว่จากการอยู่ห่างจากครอบครัวในโรงเรียนประจำ ทำให้เขาเคยคิดพยายามที่จะฆ่าตัวตาย เมื่อตอนอายุได้ 18 ปี

ตูน บอดี้สแลม

อย่างไรก็ดี ดูเหมือนฟ้าจะยังเห็นใจ เบนกลับมาชีวิตใหม่อีกครั้ง เมื่อครอบครัวเข้ามาดูแล และทำให้เขารู้สึกอบอุ่น ไม่ถูกทอดทิ้งอีกต่อไป เวลาผ่านไป จนในที่สุดเบนก็ได้ใช้ชีวิตอย่างที่เขาอยากจะเป็น เบนมีหน้าที่การงานที่ดี มีรถขับ มีบ้านอยู่อย่างสบาย แต่การทำงานหนักเพื่อสร้างฐานะในครั้งนี้ เขาก็ต้องแลกมากับสุขภาพที่สูญเสียไป เบนพบว่าตนเองเป็นโรคเส้นเลือดสมองตีบชั่วคราว  จนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลตอนอายุ 29 ปี ตอนนั้นเพื่อนคนหนึ่งแนะนำให้เขาออกวิ่ง เพื่อรักษาสุขภาพให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้งหนึ่ง เบนลองทำตาม และจนปัจจุบันนี้ เขาก็ไม่กลับมาเป็นโรคนั้นอีกเลย

ตูน บอดี้สแลม

และนี่เองที่เป็นจุดเปลี่ยนให้เบนรักการวิ่ง ทุกวันนี้ การวิ่งก็ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิตของเขาไปซะแล้ว การวิ่งทำให้เขาลืมทุกสิ่งทุกอย่าง และมีสุขภาพที่แข็งแรง เบนได้เข้าร่วมการวิ่งมาราธอนถึง 18 ครั้ง ในปี 2557

ตูน บอดี้สแลม

จากความทรงจำอันเลวร้ายที่ถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียนประจำ กลายเป็นปม ที่ทำให้เบนอยากจะปลดเปลื้องปัญหาเหล่านี้ออกไป บวกกับความรักในการวิ่ง เขาจึงคิดว่าน่าจะใช้การวิ่งเป็นเครื่องมือรณรงค์แก้ปัญหาเหล่านี้ได้ เบนจึงตัดสินใจที่จะใช้การวิ่งมาราธอนไปรอบประเทศ เป็นสื่อช่วยให้คนในประเทศอังกฤษเห็นความสำคัญ และตระหนักถึงปัญหาการกลั่นแกล้งในโรงเรียน อีกทั้งยังมีเป้าหมายที่จะระดมเงินทุนจำนวน 250,000 ปอนด์ เพื่อบริจาคให้กับหน่วยงานการกุศลอย่าง Stonewall และ Kidscape เพื่อช่วยให้เด็กคนอื่นๆ ไม่ให้ต้องพบกับปัญหาเดียวกับเขา เมื่อสมัยยังเด็ก

เบนออกเริ่มวิ่งในวันที่ 1 เดือนกันยายน ปี 2558 (ขณะนั้นอายุ 34 ปี) เริ่มทำตามเป้าหมายนั่นคือวางแผนที่จะวิ่งมาราธอนทุกวัน เป็นจำนวน 401 วันทั่ว 309 จุดรอบเกาะประเทศอังกฤษ รวมแล้วเป็นระยะทางทั้งสิ้น 10,506 ไมล์!! เทียบเท่ากับ 16,907.8 กิโลเมตร

ตูน บอดี้สแลม

การวิ่งหนักขนาดนั้น ทำให้เบนน้ำหนักตัวลดลงไป 19 กิโลกรัม ต้องกินอาหารพลังงานสูงถึง 6,700 แคลอรี่ทุกวัน ใช้รองเท้าไปทั้งหมด 22 คู่ และต้องหยุดพักรักษาตัวไป 10 วันระหว่างการวิ่ง นอกจากนี้ ยังทำให้เขาเป็นโรคไส้เลื่อน แต่ก็ไม่ทำให้เขาย่อท้อเลยสักนิด ด้วยจิตใจที่มุ่งมั่น ท่ามกลางกองเชียร์จากคนทั่วประเทศ จนมาถึงวันสุดท้าย  วันที่ 401 เบนก้าวข้ามเส้นชัยที่บ้านเกิดของเขาเอง ณ เมืองบริสทอล ประเทศอังกฤษ ด้วยเงินบริจาคเกินเป้าไปได้ถึง 330,000 ปอนด์ แม่เจ้า!

หนึ่งในภาพความประทับใจคือ ในวันสุดท้ายมีคนร่วมขบวนวิ่งไปกับเบนถึง 350 คน วันที่เขาก้าวขาแตะเส้นชัย ไม่มีคำพูดใดๆจะยิ่งใหญ่ไปกว่าการกระทำ เขาบอกว่า ไม่คิดเลยว่าการลุกมาวิ่งในครั้งนี้จะมีคนให้ความสนใจและตื่นตัวมากถึงเพียงนี้

ตูน บอดี้สแลม

ตูน บอดี้สแลม

การทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ครั้งนี้ เขายอมทุ่มเทสุดๆ ถึงกับขายบ้านเพื่อนำมาซื้อรถบ้าน และใช้เป็นเงินทุนเพื่อสนับสนุนการวิ่งของเขาตลอด 401 วัน เบนบอกว่าเขาเลือกจำนวนวันที่ 401 วัน เพราะเริ่มจากไอเดียว่าจะวิ่งมาราธอนทุกวัน ไม่มีหยุด เป็นเวลาหนึ่งปี จำนวน 365 วัน แต่อยากปัดให้เป็นเลข 4 คือ 400  และเพิ่มวันสุดท้ายในการเข้าเส้นชัยเข้าไปด้วยอีก 1 วัน จึงกลายเป็นเลข 401 ในตำนาน

ตูน บอดี้สแลม

ปัจจุบันเบนเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิ 401 Challenge และ เป็นวิทยากรรับเชิญไปยังโรงเรียน และมหาวิทยาลัย เพื่อไปสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนออกมาวิ่งเพื่อรักษาสุขภาพ และรณรงค์ต่อต้านการกลั่นแกล้งในโรงเรียน

Text Bhusakorn

อ้างอิงข้อมูลจาก

www.the401challenge.co.uk , Metro.co.uk , kaokonlakao ,www.theguardian.comBcc.co.uk

เรื่องอื่นๆที่น่าสนใจ

เปิดบ้านพัก & รีสอร์ทสุดชิลล์ ของ ตูนบอดี้สแลม

ตูน บอดี้สแลม ผู้ชายหลากมิติ กับ 11 เรื่องน่ารัก-น่ารู้ (มีคลิป)

3 งานวิ่ง สุดคูล ฝึกขาฝึกใจไว้ไปแตะขอบฟ้า

 

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up