ศรีอโยธยา ใครเป็นใครในซีรีส์แห่งปีที่คนไทยต้องดู

Alternative Textaccount_circle
event

นับเป็นซีรีส์ฟอร์มยักษ์ที่หลายคนตั้งตารอคอย กับภาพยนตร์ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เรื่อง ” ศรีอโยธยา ” ที่สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพครบ 90 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และเพื่อเทิดพระเกียรติบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งแผ่นดินสยาม

ศรีอโยธยา กำกับการแสดงโดย หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล หรือหม่อมน้อย ผู้กำกับชั้นครูแห่งสยามประเทศ โดยหม่อมน้อยมีความตั้งใจที่จะรังสรรค์เรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ชาติไทยนี้ให้ออกมาสู่สายตาประชาชนอย่างงดงาม อลังการ โดยจะเริ่มออนแอร์ทางช่อง 24U (ทรูโฟร์ยู) ในวันที่ 5 ธันวาคม 2560 นี้ เป็นตอนแรก

นอกจากความวิจิตรของเครื่องแต่งกาย ความละเอียดละออในด้านโปรดักชั่น รวมถึงความพิถีพิถันในตัวบทและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์แล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่ทำให้ภาพยนตร์ซีรีส์เรื่องนี้ถูกจับตามองอย่างมากคือเหล่านักแสดงชื่อดังที่ตบเท้ามาร่วมฝากฝีมือไว้ใน ศรีอโยธยา กันอย่างคับคั่ง โดยทางทีมงานได้เปิดและเรื่องราวของนักแสดงในบทบาทต่างๆ ให้ชมกันแล้ว สุดฯ จึงอยากพาไปทำความรู้จักกับพวกเขากัน

ศรีอโยธยา

ศรีอโยธยา

เรื่องราวใน ศรีอโยธยา จะดำเนินเรื่องผ่านยุคปัจจุบัน จากมุมมองของ 4 ตัวละคร นั่นคือ ดร.พิมาน ขัติยมงคล (อนันดา เอเวอริ่งแฮม) อาจารย์สอนวิชาโบราณคดี , วายุ เกรียงไกรฤทธิ์ ดารานักร้องแนว K-POP (จิรวิชญ์ พงษ์ไพจิตร) , รองศาสตราจารย์ ม.ล.พวงแก้ว อุทัยวงษ์  อาจารย์สอนประวัติศาสตร์ (รัดเกล้า อามระดิษ) และ  ดร.อาคม พงษ์อยุธย์ นักโบราณคดี (อาณัตพล ศิริชุมแสง) ซึ่งชะตากรรมได้นำพาพวกเขาให้เข้าไปพัวพันในเหตุการณ์ลึกลับ อันน่าพิศวง ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนต้องค้นหาข้อเท็จจริงอันยิ่งใหญ่ทางประวัติศาสตร์ และค้นพบความจริงในอดีตชาติของตนเอง

 

ตัวละครหลักในเรื่องที่ควรทำความรู้จัก

หม่อมราชวงศ์ มงคลชาย ยุคล

รับบทเป็น สมเด็จพระเพทราชา องค์พระปฐมบรมกษัตราธิราชเจ้าแห่งราชวงศ์ “บ้านพลูหลวง” พระมหากษัตราธิราชเจ้าพระองค์ที่ 28 แห่งราชอาณาจักรศรีอยุธยา ทรงครองราชสมบัติระหว่าง พุทธศักราช 2231-2246

เจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์

รับบทเป็น สมเด็จพระเจ้าเสือ (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือ สมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี) พระมหากษัตราธิราชเจ้าพระองค์ที่ 29 แห่งราชอาณาจักรศรีอยุธยา ในแผ่นดินของพระองค์นั้น บ้านเมืองราบคาบอยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากภัยสงครามรวมทั้งกบฏ และโจรผู้ร้าย เนื่องด้วยทรงมีพระบรมบุญญาธิการ เหนือมนุษย์ปุถุชน และทรงมีพระอุปนิสัยเด็ดเดี่ยว และทรงเคร่งครัดในการปกครองอย่างเที่ยงธรรม

เป๋า วฤธ หงสนันท์

รับบทเป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือ สมเด็จพระเจ้าบรรยงก์รัตนาส) องค์พระมหากษัตราธิราชเจ้าพระองค์ที่ 30 แห่งราชอาณาจักรศรีอยุธยา ทรงครองราชย์สมบัติระหว่าง พ.ศ.2251-2275 ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือ พระเจ้าเสือ พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าเพชร ส่วนพระนาม “พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ” มาจากพระนาม พระเจ้าบรรยงก์รัตนาส ซึ่งพระองค์ประทับข้างสระน้ำท้ายพระบรมมหาราชวัง

ศรัณยู วงษ์กระจ่าง

รับบทเป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระบรมกษัตราธิราชองค์ที่ 31 แห่งราชอาณาจักรอยุธยา เป็นพระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าเสือ ในรัชกาลของพระองค์ ได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองและศาสนา จนกล่าวได้ว่าเป็นยุคที่ บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองที่สุด ทั้งด้านศิลปะ วัฒนธรรม และการศาสนา อันเป็นต้นแบบอารยธรรมแก่กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ม.ล.สราลี กิติยากร

รับบท กรมหลวงอภัยนุชิตหรือ พระพันวัสสาใหญ่ พระมเหสีฝ่ายขวาใน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นพระธิดาในกรมพระราชวังหลังในรัชสมัย สมเด็จพระเพทราชา พระบิดาเป็นเชื้อสายอินเดีย วรรณะพราหมณ์ จากเมืองรามนคร รัฐมัชฌิมประเทศ และตั้งรกรากอยู่บ้านสมอพลือ จังหวัดเพชรบุรี ในแผ่นดินสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช พระบิดาของท่านรับราชการเป็นหลวงคชบาท หรือ นายทรงบาทขวาช้างทรง และเป็นกำลังแก่ สมเด็จพระเพทราชา ปราบกบฏเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ขับไล่กองทหารฝรั่งเศสออกจากราชธานีได้สำเร็จ จึงได้รับการสถาปนาเป็นกรมพระราชวังหลังในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา

กรมหลวงอภัยนุชิตทรงมีพระราชโอรสพระองค์เดียวคือ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ กรมพระราชวังบวรมงคล มหาอุปราช

นก สินจัย เปล่งพานิช

รับบทเป็น กรมหมื่นพิพิธมนตรี หรือ สมเด็จพระพันวัสสาน้อย พระอัครมเหสีใน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ศรัณยู วงษ์กระจ่าง) และเป็นพระขนิษฐาใน กรมหลวงอภัยนุชิต ทั้งยังทรงเป็นพระราชมารดาใน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร (เพ็ญเพชร เพ็ญกุล) และ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ (นพชัย ชัยนาม)

 

หญิง รฐา โพธิ์งาม

โชว์ฝีมือการแสดงในบท เจ้าจอมราตรี พระสนมใน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระญาติสนิทใน สมเด็จพระพันวัสสา ผู้ซึ่งรับใช้ใกล้ชิดเบื้องยุคลบาทจนสิ้นแผ่นดิน

ปีเตอร์ นพชัย ชัยนาม

สวมบทบาทเป็น พระเจ้าเอกทัศ องค์ปัจฉิมบรมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นพระโอรสองค์ที่ 2 ใน สมเด็จพระเจ้า อยู่หัวบรมโกศ ประสูติแต่ กรมหลวงพิพิธมนตรี พระอัครชายาฝ่ายซ้าย ซึ่งพระราชบิดาทรงโปรดปราน แม้ว่า สมเด็จเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศฯ กรมพระราชวงบวรฯ องค์รัชทายาทถูกสำเร็จโทษสิ้นพระชนม์ลง พระบิดาก็ไม่ทรงแต่งตั้งพระองค์ขึ้นดำรงตำแหน่ง พระมหาอุปราช แต่อย่างใด ทำให้ทรงรู้สึกน้อยพระทัยเป็นอย่างยิ่ง จนเมื่อพุทธศักราช 2301 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงพระประชวรหนักใกล้สิ้นพระชนม์นั้น ได้ทรงแต่งตั้ง เจ้าฟ้าดอกเดื่อ พระอนุชาร่วมพระมารดา ขึ้นเป็นรัชทายาทสืบต่อพระราชบัลลังก์ เสด็จขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร  ซึ่งหลังจากพระราชพิธีพระบรมศพเสร็จสิ้นลง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร ได้ทรงสละราชสมบัติถวายแด่พระเชษฐาในปีนั้นเอง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศ เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติด้วยพระชนมายุ 49 พรรษา

ต๊งเหน่ง รัดเกล้า อามระดิษ

รับบท กรมหมื่นพิมลภักดี พระมเหสีเทวีใน พระเจ้าเอกทัศ (นพชัย ชัยนาม) ส่วนในยุคปัจจุบันรัดเกล้ารับบทเป็นศาสตราจารย์ ม.ล.พวงแก้ว อุทัยวงศ์ จบปริญญาตรีจาก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์ที่ YALE UNIVERSITY ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อจบการศึกษาก็เดินทางกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ประจำที่ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ม.ล.พวงแก้ว มีศักดิ์เป็นคุณน้าแท้ๆ ของ ดร.พิมาน

แจ๊บ เพ็ญเพชร เพ็ญกุล

รับบทเป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร ราชโอรสองค์เล็กใน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ประสูติแต่ กรมหลวงพิพิธมนตรี ทรงพระนามว่า เจ้าฟ้าดอกเดื่อ เพราะเมื่อกรมหลวงพิพิธมนตรีทรงพระครรภ์นั้น องค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุบินเป็นนิมิต(ฝัน)ว่า พระองค์ทรงได้ ดอกมะเดื่อ ซึ่งหายากนัก นับเป็นพระลาภอันยิ่งใหญ่ จึงทรงตั้งพระราชหฤทัย จะให้พระโอรสน้อยทรงสืบสันตติวงศ์ อย่างเงียบๆ และพระราชทานพระนามว่า เจ้าฟ้าอุทุมพร


โดม ปกรณ์ ลัม

รับบทเป็น สมเด็จเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ กรมขุนเสนาพิทักษ์ หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง เจ้าชายรูปงาม พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงดำรงตำแหน่ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล องค์รัชทายาทแห่งแผ่นดิน ทรงมีพระปรีชาสามารถอย่างสูงส่งในด้านวรรณกรรม บทพระราชนิพนธ์ของพระองค์ ทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์นับ ตั้งแต่รัชสมัย ของพระองค์ จนถึงปัจจุบัน นับว่าทรงเป็น “พระมหากวี” แห่งสยามประเทศ ทั้งยังทรงทำนุบำรุงพระบวรศาสนา และการรบ สมกับที่จะทรงขึ้นครองราชย์สมบัติตามความมุ่งหวังของพระราชบิดา แต่ทรงมีความรักกับ หม่อมเจ้าสังวาล (วรนุช ภิรมย์ภักดี) พระญาติสนิทผู้เลอโฉมอย่างสนิทเสน่หา ก่อนที่หม่อมเจ้าสังวาล จะได้ถวายตัวเป็น พระมเหสีฝ่ายซ้าย ในพระราชบิดา และด้วยอานุภาพแห่งความรักนั้น ทำให้ทั้งสองพระองค์ต้องทรงกระทำการอันผิดแก่โบราณราชประเพณีด้วยการทรงลอบเป็นชู้ สร้างความโทมนัสอย่างใหญ่หลวงแก่องค์พระราชบิดา ซึ่งต้องทรงยึดมั่นในกฎมณเฑียรบาลแห่งโบราณราชประเพณี สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์จนสิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์

( อนันดา ซานิ นุ่น-วรนุช แพนเค้ก ฯลฯ ใครเป็นใคร ติดตามต่อหน้า 2)

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up