ไทรอยด์ โรคร้ายที่รักษาได้ ดาราคนไหนเป็นไทรอยด์บางนะ?

Alternative Textaccount_circle
event

ช่วงนี้มีดาราหลายคนเลยที่เกิดอาการเจ็บป่วยกับตัวเอง หนึ่งในนั้นคือโรค ไทรอยด์ ซึ่งส่งผลถึงความผิดปกติของร่างกาย เราไปดูกันดีกว่าว่าดาราคนไหนเป็นโรคนี้บ้าง สาเหตุและวิธีการดูแลตัวเองเป็นอย่างไร

 

ไทรอยด์ โรคฮิตของดารา

 

แซมมี่ เคาวเวลล์ อยู่ๆ ก็น้ำหนักขึ้นพรวดพราดถึง 10 กิโลกรัม แล้วต่อมาไม่นานก็น้ำหนักลดลงฮวบๆ ซึ่งเธอบอกว่า เธอได้ไปหาหมอแล้ว ปรากฏว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับฮอร์โมนทำงานผิดปกติ เนื่องจากความเครียด และมีภาวะเสี่ยงที่จะเป็นไทรอยด์ (ยังไม่ได้เป็น) ตอนนี้เธอก็เลยต้องดูแลตัวเองให้มาก พยายามพักผ่อนให้มากขึ้นและลดความเครียดลง เพื่อไม่ให้เกิดโรคร้ายกับตัวเอง

ไทรอยด์

หญิงลี ศรีจุมพล ที่หน้าบวม แต่แขนขาลีบ น้ำหนักลด จนแฟนๆ ใจหาย หลังจากการตรวจอย่างละเอียดก็รู้ว่าเป็นเพราะเธอป่วยเป็นโรคไทรอยด์ระยะเริ่มต้น ซึ่งสาเหตุหลักๆ น่าจะมาจากความเครียดและขาดการพักผ่อน ซึ่งตอนนี้อาการเธอก็เริ่มดีขึ้นแล้วและได้ดูดไขมันที่หน้าออกแล้ว เพื่อช่วยในเรื่องการหายใจ เอาเป็นว่าเอาใจช่วยให้เธอหายเป็นปกติไวๆ ก็แล้วกันเนอะ

ไทรอยด์

พิม-ซอนย่า รู้ตัวว่าเป็นโรคไทรอยด์เพราะอยู่ๆ ตัวก็บวมขึ้นทั้งที่กินทุกอย่างเหมือนเดิม ช่วงที่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ เธอหยุดรับงานและหันมาดูแลตัวเองอย่างเต็มที่ ต้องกินยาวันละ 1 เม็ด และออกกำลังกายอย่างหนัก ทั้งโยคะ ขี่ม้า ฟิตเนส ชกมวย จนผ่านไปประมาณ 1 ปีน้ำหนักจึงลดลง แต่กระนั้นเธอก็ยังคงต้องดูแลตัวเองเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้อาการกำเริบขึ้นมาอีก

ทาทา ยัง ทำเอาแฟนคลับตกใจกันไปตามๆ กันที่อยู่ๆ ก็เห็นว่าสาวฮ็อตอย่างทาทาตัวบวมขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุมาจากโรคไฮโปไทรอยด์ของเธอ เธอต่อสู้กับโรคนี้นานหลายปี ทั้งบินไปรักษาที่ต่างประเทศด้วย หมดเงินไปหลายล้านบาท จนในที่สุดเธอก็หายจากโรคนี้ แถมยังมีกำลังใจดีๆ จากคนรักและลูกชายตัวน้อยคอยเคียงข้างด้วย

นอกจากนี้ก้ยังมีคนดังอีกหลายคนเลยนะคะที่ป่วยเป็นโรคนี้ เรามาดูสาเหตุและวิธีดูแลตัวเองกันหน่อยดีกว่า

ผู้ป่วยโรคไทรอยด์มากกว่าครึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันซึ่งจะมีความเจ็บป่วยรุนแรงไม่เท่ากัน ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ไม่ควรปล่อยให้ตนเองเครียดจนเกินไป เนื่องจากความเครียดมีส่วนไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันตนเอง ขณะที่อีกสาเหตุหนึ่งเกิดจากพันธุกรรมและไวรัส

ไทรอยด์ชนิดอ้วน (Hypothyroid) เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมาน้อย ทำให้ร่างกายเกิดอาการขาดฮอร์โมนไทรอยด์ จึงมีการเผาผลาญพลังงานน้อยกว่าปกติ อาการนั้น นอกจากจะน้ำหนักขึ้น อ้วนแบบบวมฉุแล้ว ยังมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เฉื่อยชา เบื่อ ขี้เกียจ ไม่อยากทำอะไร ง่วงนอนบ่อย ขี้หนาว ผมร่วง เหนื่อยง่าย ทำอะไรไม่ค่อยไหว ท้องผูก บางรายประจำเดือนมากกว่าปกติ เป็นต้น

โรคไทรอยด์ชนิดผอม หรือภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroid) เกิดจากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการของภาวะฮอร์โมนเกิน ร่างกายจึงมีการเผาผลาญพลังงานมากกว่าปกติ พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยอายุอยู่ระหว่าง 30-50 ปี และพบในหญิงมากกว่าชาย 7-10 เท่า และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ใจสั่น มือสั่น ขี้โมโห เครียดง่าย เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หิวบ่อย กินเก่ง แต่น้ำหนักไม่ขึ้น อุจจาระบ่อยขึ้นแต่ไม่เป็นแบบท้องเสีย ประจำเดือนน้อยลงหรือขาดหายไป บางรายตาโปนขึ้น

การดูแลรักษาตัวเองนั้น เราต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอว่าน้ำหนักขึ้นหรือลดลงผิดปกติหรือเปล่า คอยดูแลไม่ให้ตัวเองเครียดหรือขาดการพักผ่อน หากเป็นแล้วต้องปฏิตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดและกินยาอย่างสม่ำเสมอ หากละเลยไม่รักษาอาการป่วยอาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น ส่งผลต่อระบบประสาท การสืบพันธุ์ ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ เสี่ยงต่อการแท้งบุตร เป็นต้น หากเกิดภาวะเรื้อรังขึ้นมาจะรักษายากและเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกหลายเท่าตัว

ข้อมูลจาก www.thaihealth.or.th

ภาพจาก Instagram : @sammycowelll , @yinglee_lalla , @soniapim , @tataamitayoung

 

เรื่องราวที่น่าสนใจอื่นๆ

ปวดกล้ามเนื้อ อย่านิ่งนอนใจ เพราะอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ เหมือนเคส จอย-รินลณี

แค่เป็นหวัดก็หูหนวกได้!! บทเรียนจาก อายูมิ ฮามาซากิ

รวม 5 หมอหล่องานดี…ที่เห็นแล้วอยากป่วย!!!

สุดสัปดาห์

keyboard_arrow_up